อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. แอนาแอโรบิค Anaerobic คือ การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจนช่วยในการเผาผลาญ พลังงาน เป็นการระเบิดพลังงานในเวลาสั้นๆ เช่น การเล่นเวทหรือ ยกน้ำหนัก (Weight Training) กล้ามเนื้อที่ได้จากการออกกำลังกายประเภทนี้จะเป็นมัดกล้ามเนื้อขาว ซึ่งจะระเบิดพลังงานสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ พลังงานที่เผาผลาญไม่ใช่ไขมัน แต่จะเป็นพลังงานสะสมที่ร่างกายเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อและตับ (Glycogen-ไกลโคเจน) ในระยะยาวกล้ามเนื้อที่ใหญ่ ขึ้นจากการออกกำลังกายแบบ (Weight Training) จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี แม้ขณะนั่งอยู่เฉยๆหรือนอนหลับ
ประเภทของการออกกำลังกาย
2. แอโรบิค Aerobic, คาร์ดิโอ Cardio คือ การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนช่วยใน การเผาผลาญไขมันไปใช้เป็นพลังงาน เป็นการออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป มีความต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 25 นาที เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค กล้ามเนื้อที่ได้จากการออกกำลังกายประเภทนี้ คือ มัดกล้ามเนื้อแดง ซึ่งจะเน้นความทนทาน



ขั้นตอนการออกกำลังกาย



ขั้นตอนการออกกำลังกาย

วิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้องมีเพียงแค่ 4 ขั้นตอนง่าย ๆ เริ่มจาก 
1-อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายประมาณ 5-10 นาที 
2-ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ 5-10 นาที 
3-ออกกำลังกายแบบแอโรบิก 30-60 นาที 
4-ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 5-10 นาที 
รายละเอียดของแต่ขั้นตอนก็ไม่ยากเกินไป 

ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกายเป็นขั้นตอนที่มีความจำเป็นมาก เพราะทำให้ร่างกายปรับตัวกระตุ้นเตรียมกล้ามเนื้อก่อนเข้าสู่กิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่หนักขึ้น จากนั้นในขั้นตอนการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ก็สามารถเลือกทำตามคำแนะนำการออกกำลังกายที่มีทั่วไปได้ตามถนัด เพียงแต่มีข้อควรระวังในขั้นตอนนี้ที่ควรจำไว้คือ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อไม่ใช่การกระตุกกระชากรุนแรงเพราะการทำแบบนั้นอาจจะทำให้เจ็บปวดกับเอ็นและข้อได้ 
ขั้นตอนการออกกำลังด้วยแอโรบิก ก็มีให้เลือกหลายวิธีเช่นกัน เช่น การเดินเร็ว จ็อกกิ้ง วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือเต้นแอโรบิก ในขั้นตอนนี้ควรทำให้ถึงระดับอัตราการเต้นของชีพจรถึงระดับ 60-80% ของอัตราการเต้นชีพจรสูงสุด 
สำหรับขั้นตอนสุดท้าย การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นการปรับระดับการออกกำลังกายลงให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากหลังการออกกำลัง ร่างกายจะมีของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานสะสมตามบริเวณกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเมื่อล้าอ่อนเพลีย ดังนั้นจึงควรต้องมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายทุกครั้งเพื่อลดอาการดังกล่าว และช่วยให้ร่างกายสดชื่นกระปี้กระเป่า 

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย


ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
1. เพื่อการเจริญเติบโต การออกกำลังกายจัดเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เด็กที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายแต่มีการกินอาหารมากอาจมีส่วนสูงและน้ำหนักตัวมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันโดยเฉลี่ย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะทำให้ร่างกายมีไขมันมากเกินไป มีกระดูกเล็ก หัวใจมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวและรูปร่างอาจผิดปกติได้ เช่น เข่าชิดกัน อ้วนแบบฉุ เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ตรงข้ามกับเด็กที่ออกกำลังกายถูกต้องสม่ำเสมอ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตอย่างถูกส่วน จึงกระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ เจริญขึ้นพร้อมกันไปทั้งขนาด รูปร่าง และหน้าที่การทำงาน และเมื่อประกอบกับผลของการออกกำลังกายที่ทำให้เจริญอาหาร การย่อยอาหารและการขับถ่ายดี เด็กที่ออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอจึงมีการเจริญเติบโตดีกว่าเด็กที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
2. เพื่อสุขภาพ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์ต่อสุขภาพถึงแม้จะไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการออกกำลังกายสามารถเพิ่มภูมิต้านทานโรคที่เกิดจากการติดเชื้อได้ แต่มีหลักฐานที่พบบ่อยครั้งว่า เมื่อนักกีฬาเกิดการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อจะสามารถหายได้เร็วกว่า และมีโรคแทรกซ้อนน้อยกว่า ข้อที่ทำให้เชื่อได้แน่ว่าผู้ที่ออกกำลังกายย่อมมีสุขภาพดีกว่าผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย คือ การที่อวัยวะต่าง ๆ มีการพัฒนาทั้งขนาด รูปร่าง และหน้าที่การทำงาน โอกาสของการเกิดโรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ เช่น โรคเสื่อมสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะจึงมีน้อยกว่า
3. เพื่อสมรรถภาพทางกาย ถ้าการออกกำลังกายเป็นยาบำรุง การออกกำลังกายถือเป็นยาบำรุงเพียงอย่างเดียวที่สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายได้ เพราะไม่มียาใด ๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างแท้จริงและถาวร ยาบางอย่างอาจทำให้ผู้ใช้สามารถทนทำงานบางอย่างได้นานกว่าปกติ แต่เมื่อทำไปแล้วร่างกายก็จะอ่อนเพลียกว่าปกติจนต้องพักผ่อนนานกว่าปกติ หรือร่างกาย ทรุดโทรมลงไป ในทางปฏิบัติเราสามารถเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายทุก ๆ ด้านได้ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความอดทนของกล้ามเนื้อ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด ความคล่องตัว ฯลฯ
4. เพื่อการป้องกันโรค การออกกำลังกายสามารถป้องกันโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของอวัยวะอันเนื่องจากการมีอายุมากขึ้น ซึ่งประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันเช่น การกินอาหารมากเกินความจำเป็น ความเคร่งเครียด การสูบบุหรี่มาก หรือกรรมพันธุ์ โรคเหล่านี้ได้แก่ โรคประสาทเสียดุลยภาพ หลอดเลือดหัวใจเสื่อมสภาพ ความดันเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคข้อต่อเสื่อมสภาพ เป็นต้น ผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีโอกาสเกิดโรคเหล่านี้ได้ช้ากว่าผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย หรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยจนชั่วชีวิต การออกกำลังกายจึงช่วยชะลอชรา
5. เพื่อการรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพ โรคต่าง ๆ ที่กล่าวในข้อ 5 หากเกิดขึ้นแล้ว การเลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมจัดเป็นวิธีรักษาและฟื้นฟูสภาพที่สำคัญในปัจจุบัน แต่ในการจัดการออกกำลังกายที่เหมาะสมมีปัญหามาก เพราะบางครั้งโรคกำเริบรุนแรงจนการออกกำลังกายแม้เพียงเบา ๆ ก็เป็นข้อห้าม ในกรณีดังกล่าว การควบคุมโดยใกล้ชิดจากแพทย์ผู้ทำการรักษาและการตรวจสอบสภาพร่างกายโดยละเอียดเป็นระยะเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง